วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


เรื่องของผึ้ง


    ชื่อสามัญ   Honey Bees
    Order       HYMENOPTERA  

         ผึ้งเป็นแมลงอันดับเดียวกันกับ ต่อ แตน ผึ้งเป็นแมลงที่อยู่ใสวงศ์ Apidae. ส่วนผึ้งที่
สามารถเปลี่ยนรูปน้ำหวานจากดอกไม้(nectar) มาเป็นน้ำผึ้ง(honey)ได้นั้นอยู่ใน genus. Apis.
ซึ่งมีหลาย Spicies เช่น 
พันธุ์ Apis.mellifera ผึ้งอาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคม ประกอบด้วย
                 
   ผึ้งแม่รังหรือผึ้งนางพญา (queen)
             ทำหน้าที่ในการผสมพันธุ์ วางไข่และควบคุมการทำงานของประชากรของผึ้งภายในรัง 
    ผึ้งงาน(worker) 
             เป็นผึ้งเพศเมียที่เป็นหมัน มีหน้าที่ทำความสะอาดหลอดรวง ให้ความอบอุ่นแก่ตัวอ่อนให้อาหารตัวอ่อน
             และป้อนอาหารนางพญาผลิตไขเพื่อซ่อมสร้างหลอดรวง เป็นยามป้องกันหน้ารัง และออกหาอาหาร
    ผึ้งเพศผู้ (drone)
             ทำหน้าที่ผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา
   
อาหารของผึ้งมี สองชนิดคือ
    1.  น้ำหวานจากดอกไม้ เป็นอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานแก่ผึ้งและเป็นวัตถุดิบในการสร้างรัง
    2.  เกสรดอกไม้ ประกอบด้วย โปรตีน  วิตามน ไขมัน เกลือแร่ชนิดต่างๆ เป็นอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน
         และนางพญาผึ้ง ตลอดจนการผลิตโรยัลเยลลี่
      
แหล่งและชนิด พืชอาหารของผึ้ง

    1. พืชที่มีน้ำหวานจำนวนมากแต่เกสรน้อย ได้แก่ ลิ้นจี่  สาบเสือ เงาะ มะกอกน้ำ มันสำปะหลัง
    2. พืชที่มีปริมาณเกสรมาก แต่น้ำหวานน้อย ได้แก่พืชตระกูลหญ้า ข้าวโพด  หางนกยูง จามจุรี โสนขน
    3. พืชที่ให้ทั้งเกสรและน้ำหวานในปริมาณที่สมดุลย์ ได้แก่ งิ้ว นุ่น สำใย หญ้าตีนตุ๊กแก ทานตะวัน

ผลิตภันฑ์จากผึ้ง
        1.  น้ำผึ้ง คือของเหลวหวาน ซึ่งผึ้งผลิตขึ้นมาจากน้ำหวานของดอกไม้หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ 
             แล้วนำกลับมาสะสมในรังผึ้ง ทำการบ่มจนของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี ลักษณะ
             ของน้ำผึ้งที่ดี ควรมีความหนืด ใส มีสีเหลืองอ่อนๆ จนมีสีน้ำตาล
        2.  โรลยัลเยลลี่ (royal jelly)    คืออาหารสำหรับตัวอ่อนผึ้งและนางพญามีลักษณะคล้ายครีม    หรีอนม
             ข้นหวาน หรือแป้งเปียกข้นๆ มีกลิ่นออกเปรี้ยว ผลิตจากต่อม hypophaynx ของผึ้งงานที่อายุ 5-15 วัน
             ที่เรียกว่าผึ้งพยาบาล






             ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
             มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก
              

ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

      1. ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
  •  ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
  • ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
  • หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
      2. ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
   
  3. ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง






แหล่งที่มา :



ข้อมูลเพิ่มเติม :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น