วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผึ้งบำบัด


ผึ้งบำบัด

ประวัติของผึ้งบำบัด
           ต้นกำเนิดของการใช้ผึ้งบำบัด หรืออะพิเธอราพี นั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าถือกำเนิดวิธีการเหล่านี้มาจากที่ใดเป็นชาติแรก แต่มีร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในชนชาติกรีก ยีอิปต์ และจีน ที่มีการใช้น้ำผึ้งในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาเกือบว่าพันปีซึ่งปรากฏอยู่ในคำภีร์ Veda และ Bible ว่ามีการใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้งมาว่า 4,000 ปี ซึ่งน้ำผึ้งและพรอพอริส สารสกัดที่ได้จากยางไม้ ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอียิปต์ หรือในสมัยฮิปโปเคติส ในแพทย์ชาวกรีก ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์ยังพบว่ามีการใช้พิษผึ้งเพื่อรักษาอาการเจ็บไขข้อและโรคปวดข้อ ในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีการกล่าวถึงการใช้ผึ้งต่อยเพื่อรักษาโรค มานานกว่า 3,000 ปี
          ปัจจุบันมีหลายประเทศได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องให้ใช้รักษาคนไข้ได้วิธีการนี้ใช้หลักการเดียวกับการฝังเข็ม แต่ต่างตรงที่พิษผึ้งที่ถือกันว่าเป็นยาธรรมชาติขนานเอก สำหรับคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีนี้นับได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนไข้อีกทาง

นิยามของผึ้งบำบัด

          
          ผึ้งบำบัด เป็นวิธีทางเลือกแห่งการบำบัดสุขภาพ หมายถึง การบำบัด บรรเทา หรือการรักษาอาการโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้ง อันได้แก่ น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง ไขผึ้ง พรอพอริส และพิษผึ้ง มีประวัติมายาวนาน และเป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ ผึ้งบำบัดในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Apitherapy และในภาษาจีน เรียกว่า ฟงเหลียว
          โดยหลักกการแล้ววิถีแห่งผึ้งบำบัดใช้ปรัชญาพื้นฐานของคำว่า อาหารเป็นยาต้านโรคภัย อีกทั้งการใช้พิษผึ้งมีที่มาของหลักที่ว่า พิษต้านพิษ หรือที่เรียกว่า Homeopathy
          ผึ้งบำบัด ประกอบไปด้วย 2 ประการ ประการที่หนึ่ง คือ การใช้พิษผึ้ง โดยการฝังตามจุดประสาทลมปราณด้วยเหล็กไนผึ้ง โดยจะต้องควบคู่ไปกับประการที่สอง คือ การบริโภคผลิตภัณฑ์ผึ้งอื่นๆ ซึ่งเพื่อส่งผลต่อการบำบัดอาการหรือโรคได้เต็มประสิทธิภาพ โยเฉพาะในการรักษาโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจจะต้องได้รับการฝังเข็มด้วยเหล็กไนผึ้งเป็นเวลาหลายครั้ง



          การฝังเข็มด้วยเหล็กไนผึ้งเป็นศาสตร์ที่มีมานานกว่า 1,200 ปี และแพร่หลายในสากล เป็นการรวมระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ผึ้งในการต่อยเพื่อบำบัดโรค และการฝังเข็มที่เป็นศาสตร์การรักษาในแพทย์แผนจีน  จนพัฒนากลายมาเป็น การรักษาโดยการฝังเข็มด้วยเหล็กไนผึ้ง


การรักษาผึ้งบำบัด

ในการรักษาด้วยผึ้งบำบัด จะมี 3 ประเภท
1.การใช้เหล็กไนของผึ้งมาต่อยรักษาโดยตรง แบ่งเป็น 2ลักษณะ
    1.1 ต่อยตรงจุดกดเจ็บ (Trigger points) 
          จุดกดเจ็บ หมายถึง จุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เจ็บแปลบ ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ   เล็ก ๆ ยังคงไม่สลายไป มีอาการเจ็บปวดมากที่สุด การหาจุดกดเจ็บทำได้โดยการใช้นิ้วมือคลำดูบริเวณที่มีอาการแล้วค่อยกดลงที่ละจุด ถามผู้ป่วยว่าเจ็บมากไหม ถ้าผู้ป่วยแสดงอาการเจ็บมาก หรือบอกว่าเจ็บ แสดงว่าเป็นจุดที่มีปัญหา ซึ่งนิยมต่อยผึ้งทั้งตัวบริเวณจุดนี้ เช่นกลุ่มอาการปวดต่างๆ ปวดหัวไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว ปวดขา ไมเกรน รูมาตอยด์ เกาต์ ฯลฯ
    1.2 ต่อยตามจุดบนเส้นลมปราณ
          การต่อยผึ้งตามจุดบนเส้นลมปราณ ใช้หลักการต่อยเหล็กในผึ้งลงบนจุดที่ใช้ในการฝังเข็มคล้าย ๆ กับการฝังเข็มแต่เปลี่ยนจากเข็มเหล็กมาเป็นเข็มเหล็กไนผึ้ง โดยจะให้สรรพคุณเหมือนกับการฝังเข็มแต่ในเหล็กในผึ้งยังมีพิษผึ้ง ซึ่งจะช่วยในการบำบัดได้ต่อเนื่องกว่าการฝังเข็ม เช่น ไมเกรน  รูมาตอยด์
2. การใช้พิษแห้ง 
    ในการรักษาโดยการใช้พิษแห้งจะใช้หลังจากการต่อยผึ้งหรือกรณีที่ผู้ป่วยไม่ประสงค์ต่อยผึ้ง วิธีการใช้พิษแห้งเราจะใช้ร่วมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการผลักพิษแห้งเข้าไปช่วยบรรเทาหรือรักษาบริเวณที่มีอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดส้นเท้า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ เป็นต้น
3.การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งหรือยางผึ้ง
   การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งจะใช้ในการรักษาหลังจากต่อยผึ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการรักษามากขึ้น มักจะใช้รักษากับโรคต่างๆ เช่น การต่อยเลิกบุหรี่ ปวดข้อศอก ปวดส้นเท้า ต่อมน้ำลายอักเสบ เป็นต้น 








แหล่งที่มา :






ประโยชน์ของผึ้ง


ประโยชน์ของผึ้ง


          ผึ้ง เป็นแมลงสังคมที่รัก และหวงแหนเผ่าพันธุ์ยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง ผึ้งทุกตัว ตั้งแต่ออกจากดักแด้เป็นผึ้งตัวเต็มวัยก็เริ่มทำหน้าที่ ของตนเองอย่างไม่มีหยุดยั้ง จวบจนเสี้ยววินาทีสุดท้ายของชีวิต ผึ้งจะตายในหน้าที่ทุกตัว เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ ให้คงอยู่ต่อไปอย่างสันติ ผึ้งจะออกไปโจมตีศัตรูที่มารุกรานอย่างไม่คิดชีวิต และจะหยุดต่อเมื่อตัวเองตายหรือข้าศึกล่าถอยออกไปเท่านั้น ดังนั้นนิสัย ของผึ้งจึง เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอุดมการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ตลอดมา


          คนไทย รู้จักผึ้งและคุณค่าของน้ำผึ้งมาแต่โบราณกาลที่เป็นหลักฐานเด่นชัดก็คือ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีตัวอักษร "ผ" ปรากฏอยู่ และนอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ศาสนาต่าง ๆ เกือบทุกศาสนาทั่วโลกก็ได้มีการจารึกถึงคุณประโยชน์ของผึ้ง และน้ำผึ้งไว้ด้วย


ผลประโยชน์ของการเลี้ยงต่อสิ่งแวดล้อม
          การเลี้ยงผึ้งช่วยก่อให้เกิดการอนุรักษ์ต้นไม้และธรรมชาติช่วยลดการใช้สารเคมี และทำให้การใช้สารเคมีมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ต้นไม้ติดผลเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

1. น้ำผึ้ง
          คือ ของเหลวรสหวานหอมจากดอกไม้หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ผ่านขบวนการเก็บและผลิตจากผึ้งงาน แล้ว สะสมเป็นอาหารสำรองไว้ในรวงผึ้ง ผู้ที่บริโภคน้ำผึ้งเป็นประจำเท่านั้นที่จะรู้ว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ น้ำผึ้งมีสารอาหาร ประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานสูง นอกจากนี้ยังมีเกลือแร่ วิตามิน โปรตีน และสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์มากมายและเหมาะสำหรับ ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้อ่อนเพลีย และผู้ป่วยระยะพักฟื้น
ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดี
1. น้ำผึ้งทุกชนิดจากผลการวิจัยพบว่าน้ำผึ้งที่ได้จากดอกไม้ต่าง ๆ มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน  หรือ   ใกล้เคียงกัน ทั้งในด้านองค์ประกอบ ทางเคมีและคุณค่าทางอาหาร ดังนั้นผู้บริโภคสามารถเลือกน้ำผึ้งที่มีรสชาติและกลิ่นที่ตนเองชอบได้ทุกชนิด
2. น้ำผึ้งจากยางพารา ดอกทานตะวัน และดอกลิ้นจี่ จะตกผลึกเป็นเกล็ดน้ำตาลละเอียดที่เรียกว่าครีมน้ำผึ้งเป็นน้ำผึ้งแท้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของน้ำผึ้งที่ได้จากพืชดังกล่าว
 3. น้ำผึ้งที่ดีต้องใส สะอาด ไม่มีเศษไขผึ้งหรือตัวผึ้งปะปน เมื่อรินจะมีลักษณะข้นหนืดมีสีเหลืองอ่อน จนถึงสีน้ำตาล (ถ้าน้ำผึ้งมีสีดำเข้ม ไม่ควรบริโภค)
4. น้ำผึ้งที่ดีต้องมีรสหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะ ขึ้นอยู่กับชนิดของดอกไม้ และต้องไม่มีกลิ่นเปรี้ยวบูด
5. มีสลากปิดแสดงเครื่องหมายการค้า แหล่งที่ผลิต และมีการรับรองจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. สมอ. แต่สำหรับ เกษตรกรรายย่อยจะได้รับการรับรองจากกรมส่งเสริมการเกษตร 

2. เกสรผึ้ง
          คือ ละอองเกสรดอกไม้นานาชนิด ที่ผึ้งเก็บรวบรวมสะสมไว้ในรวงรังผึ้ง เกสรผึ้งประกอบด้วยโปรตีน เป็นส่วนใหญ่ วิตามินเกลือแร่ กรดอะมิโน เอนไซม์ และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และสร้างภูมิต้านทานโรค บำรุงร่างกาย นับเป็นอาหารเสริม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ 
 

3. นมผึ้ง 
          หรือ รอยัลเยลลี่ คือ อาหารที่ผึ้งงานวัยอ่อนผลิตจากต่อมในส่วนหัว เพื่อป้อนนางพญาผึ้งเท่านั้น มีลักษณะเป็น ของเหลวข้นสีขาวครีม เป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิดคือ มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การบริโภคนมผึ้งอย่างต่อเนื่องกัน จะให้ผลดีต่อสุขภาพของ ร่างกายเป็นอย่างยิ่ง
 

สอบถามรายละเอียดใกล้บ้านเพิ่มเติมได้ที่ :

1. ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 431262
2. ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (055) 311253
3. ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งที่ 3 จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 255066
4. ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งที่ 4 จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 389245
5. ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งที่ 5 จังหวัดชุมพร โทร. (077) 574519 
 



แหล่งที่มา : 





สายพันธุ์ของผึ้ง


สายพันธุ์ของผึ้ง


ผึ้งชนิดต่าง ๆ

ผึ้ง หมายถึง แมลงที่เก็บน้ำหวานจากดอกไม้มาทำน้ำผึ้ง (Honey) เท่านั้น ในประเทศไทยผึ้งมีความสำคัญอยู่ 5 ชนิดคือ


1. ผึ้งหลวง



          ผึ้งหลวง มีขนาดตัวและรังใหญ่ที่สุด ขนาดของลำตัวผึ้งยาวประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร มีท้องเป็นปล้องสีเหลืองและดำ ปีกแข็งแรง บินเร็ว มักพบอยู่ในป่าหรือตามชนบท โดยทั่วไป ชอบสร้างรังบนต้นไม้สูง ๆ หรือภายนอกอาคารบ้านเรือน ตามวัด หรือใต้ถังเก็บน้ำสูง ๆ ลักษณะรวงรังมีชั้นเดียว เป็นรูปครึ่งวงกลมขนาดเท่าแขนผู้ใหญ่ (ขนาดประมาณ 0.5 - 2 เมตร) รวงรึงไม่มีที่ปกปิด ผึ้งหลวงดูและต่อยปวดกว่่าผึ้งทุกชนิด เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ผึ้งหลวงให้น้ำผึ้งดีที่สุด ที่เรียกว่า น้ำผึ้งเดือนห้า


2. ผึ้งมิ้น

          ผึ้งมิ้น มีขนาดตัวและรังเล็กกว่าผึ้งหลวง และผึ้งโพรง ขนาดของลำตัวใหญ่กว่าแมลงวันบ้างเล็กน้อย มีท้องปล้องแรกสีเหลือง ที่เหลือเป็นปล้องสีดำสลับขาวชัดเจน บางคนชอบเรียกว่า "ผึ้งแมลงวัน" พบอยู่ทั่วไป ชอบตอมขนมหวาน ผึ้งมิ้นชอบสร้างรังบนต้นไม้ และในซุ้มไม้ ที่ไม่สูงจนเกินไปนัก ลักษณะรวงรังมีชั้นเดียว มีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือผู้ใหญ่กางเต็มที่ (ขนาดประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร) ผึ้งมิ้นมักจะปกปิดรังของมันอยู่ในซุ้มกิ่งไม้ เพื่อพรางตาป้องกันศัตรู เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่ผึ้งมิ้นให้น้ำผึ้งมากที่ีสุด


3. ผึ้งมิ้นเล็ก

          ผึ้งมิ้นเล็ก มีขนาดตัวและรังเล็กกว่าผึ้งมิ้น จัดเป็นผึ้งที่เล็กที่สุดในโลก ขนาดของลำตัวเล็กกว่าผึ้งมิ้น และมีท้องปล้องแรกสีดำ ส่วนท้องปล้องที่เหลือเป็นสีขาวสลับดำ เป็นผึ้งที่หายาก พบเฉพาะในบริเวณป่าละเมาะใกล้ภูเขาเ่ท่านั้น สร้างรังในซุ้มไม้ และบนกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ไม่สูงมากนัก ลักษณะรังมีชั้นเีดียว บอบบาง และเล็กกว่ารังของผึ้งมิ้น คือ มีขนาดเท่าฝ่ามือผู้ใหญ่เท่านั้น ขนาดประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร ผึ้งมิ้นเล็กมักจะปกปิดรังของมันอยู่ในซุ้มไม้ และกิ่งไม้ เพื่อพรางตาป้องกันศัตรูเหมือนกับผึ้งมิ้น แต่ปกปิดมิดชิดกว่า บางท้องถิ่นเรียกว่า "ผึ้งบ้าน"
          ผึ้งมิ้นเล็ก เป็นผึ้งที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ เพราะมีเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยในประเทศไทย เนื่องจากเป็นผึ้งที่ไม่ดุ และต่อยไม่เจ็บปวดเหมือนผึ้งชนิดอื่น ๆ จึงถูกล่าตี หรือเผารัง เพื่อนำน้ำผึ้งมากินได้ง่าย ผึ้งมิ้นเล็กมักอาศัยอยู่บริเวณชายป่า ในที่เดียวกับผึ้งมิ้น ดังนั้นจึงถูกนักล่าผึ้งทำลาย เพื่อนำน้ำผึ้งป่ามาขาย จนกลายเป็นผึ้งที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไปในที่สุด


4. ผึ้งโพรงไทย

          ผึ้งโพรงไทย มีขนาดตัวใหญ่กว่าผึ้งมิ้น แต่เล็กกว่า่ผึ้งหลวง ลำตัวมีสีน้ำตาลสลับเหลืองเป็นปล้อง ๆ ที่ท้อง ผึ้งโพรงสร้างรังในโพรงไม้ ในอาคารบ้านเรือนที่มิดชิด และมืด เช่น ภายใต้หลังคา ลักษณะรวงรังหลายรวงห้อยลงมาเรียงขนานกัน ขนาดของรวงรัง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร สามารถนำมาเลี้ยงในหีบได้ ผึ้งชนิดนี้ใ้ห้น้ำผึ้งในช่วงเวลาที่ดอกเงาะ  ดอกทุเรียน และดอกมะพร้าวบาน สามารถเก็บน้ำผึ้งได้หลายครั้ง วิธีการเก็บน้ำผึ้งตามธรรมชาติที่ถูกต้อง ควรตัดเฉพาะรังส่วนที่มีน้ำผึ้ง ไม่ควรเผารังผึ้ง เพราะทำให้ผึ้งตายหมดทั้งรัง


5. ผึ้งโพรงฝรั่ง



          ผึ้งโพรงฝรั่ง ตัวมีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรงไทย แต่เล็กกว่าผึ้งหลวง เป็นผึ้งที่คนไทยนำมาจากต่างประเทศ ดังนั้น บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า ผึ้งพันธุ์ยุโรปบ้าง ผึ้งพันธุ์อิตาเลียนบ้าง ผึ้งโพรงฝรั่ง คือ ผึ้งพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา  และยุโรป มีลักษณะคล้ายผึ้งโพรงไทย คือ ทำรังหลาย ๆ รวงห้อยลงมาขนานกันอยู่ตามโพรงไม้  ซอกหิน  หรือตามอาคารที่ปิดมิดชิด ต่อมาได้รับการนำมาเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมทั่วโลก เนื่องจากเป็นผึ้งที่มีขนาดรังเหมาะสมกับการนำมาประยุกต์เลี้ยงในหีบผึ้งขนาดมาตรฐานได้พอดี และสามารถเก็บสะสมน้ำผึ้งได้ปริมาณมากที่สุด ไม่ดุเหมือนผึ้งหลวง และไม่ทิ้งรังง่ายเหมือนผึ้งโพรงไทย




ผึ้งหลวง



รังผึ้งมิ้น



แหล่งที่มา :



วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


เรื่องของผึ้ง


    ชื่อสามัญ   Honey Bees
    Order       HYMENOPTERA  

         ผึ้งเป็นแมลงอันดับเดียวกันกับ ต่อ แตน ผึ้งเป็นแมลงที่อยู่ใสวงศ์ Apidae. ส่วนผึ้งที่
สามารถเปลี่ยนรูปน้ำหวานจากดอกไม้(nectar) มาเป็นน้ำผึ้ง(honey)ได้นั้นอยู่ใน genus. Apis.
ซึ่งมีหลาย Spicies เช่น 
พันธุ์ Apis.mellifera ผึ้งอาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคม ประกอบด้วย
                 
   ผึ้งแม่รังหรือผึ้งนางพญา (queen)
             ทำหน้าที่ในการผสมพันธุ์ วางไข่และควบคุมการทำงานของประชากรของผึ้งภายในรัง 
    ผึ้งงาน(worker) 
             เป็นผึ้งเพศเมียที่เป็นหมัน มีหน้าที่ทำความสะอาดหลอดรวง ให้ความอบอุ่นแก่ตัวอ่อนให้อาหารตัวอ่อน
             และป้อนอาหารนางพญาผลิตไขเพื่อซ่อมสร้างหลอดรวง เป็นยามป้องกันหน้ารัง และออกหาอาหาร
    ผึ้งเพศผู้ (drone)
             ทำหน้าที่ผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา
   
อาหารของผึ้งมี สองชนิดคือ
    1.  น้ำหวานจากดอกไม้ เป็นอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานแก่ผึ้งและเป็นวัตถุดิบในการสร้างรัง
    2.  เกสรดอกไม้ ประกอบด้วย โปรตีน  วิตามน ไขมัน เกลือแร่ชนิดต่างๆ เป็นอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน
         และนางพญาผึ้ง ตลอดจนการผลิตโรยัลเยลลี่
      
แหล่งและชนิด พืชอาหารของผึ้ง

    1. พืชที่มีน้ำหวานจำนวนมากแต่เกสรน้อย ได้แก่ ลิ้นจี่  สาบเสือ เงาะ มะกอกน้ำ มันสำปะหลัง
    2. พืชที่มีปริมาณเกสรมาก แต่น้ำหวานน้อย ได้แก่พืชตระกูลหญ้า ข้าวโพด  หางนกยูง จามจุรี โสนขน
    3. พืชที่ให้ทั้งเกสรและน้ำหวานในปริมาณที่สมดุลย์ ได้แก่ งิ้ว นุ่น สำใย หญ้าตีนตุ๊กแก ทานตะวัน

ผลิตภันฑ์จากผึ้ง
        1.  น้ำผึ้ง คือของเหลวหวาน ซึ่งผึ้งผลิตขึ้นมาจากน้ำหวานของดอกไม้หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ 
             แล้วนำกลับมาสะสมในรังผึ้ง ทำการบ่มจนของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี ลักษณะ
             ของน้ำผึ้งที่ดี ควรมีความหนืด ใส มีสีเหลืองอ่อนๆ จนมีสีน้ำตาล
        2.  โรลยัลเยลลี่ (royal jelly)    คืออาหารสำหรับตัวอ่อนผึ้งและนางพญามีลักษณะคล้ายครีม    หรีอนม
             ข้นหวาน หรือแป้งเปียกข้นๆ มีกลิ่นออกเปรี้ยว ผลิตจากต่อม hypophaynx ของผึ้งงานที่อายุ 5-15 วัน
             ที่เรียกว่าผึ้งพยาบาล






             ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
             มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก
              

ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

      1. ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
  •  ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
  • ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
  • หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
      2. ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
   
  3. ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง






แหล่งที่มา :



ข้อมูลเพิ่มเติม :

การเลี้ยงผึ้ง


การเลี้ยงผึ้ง

          การเลี้ยวผึ้งพันธุ์หรือผึ้งอิตาเลี่ยน ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ผู้ที่สนใจที่จะเลี้ยงผึ้งนั้น ควรจะทราบข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งให้เข้าใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มฝึกหัดเลี้ยงด้วยตนเองอย่างน้อย 2 - 3 รัง เพื่อหาประสบการณ์และความชำนาญ
รายละเอียดต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการจัดการภายในรังผึ้งที่เหมาะสมแล้ว การเลี้ยงผึ้งก็ไม่ใช่ของยาก แต่ควรจะต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งให้พร้อม ดังนี้คือ

     1. ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง
1.1. ความรู้ทางด้านชีววิทยาและพฤติกรรมของผึ้งพันธุ์ ได้แก่ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของผึ้ง วงจรชีวิต การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของวัยผึ้ง ชนิดช่วงอายุต่าง ๆ รวมทั้งความเป็นอยู่ นิสัย และสภาพสังคมภายในรังผึ้ง การจัดระบบโดยธรรมชาติภายในรังผึ้ง การหาอาหาร การป้องกันรัง การเลี้ยงดูตัวอ่อน รวมทั้งความต้องการของผึ้งในสภาพแวดล้อม ต่าง ๆ ด้วย
การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรการเลี้ยงผึ้งพันธุ์
1.2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดูแลผึ้ง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จในการเลี้ยงผึ้ง (รายละเอียดดูเรื่องการจัดการดูแลในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์)
1.3. ความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ที่เป็นแหล่งอาหารของผึ้ง ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้และดอกไม้ที่จะเป็นแหล่งอาหาร (น้ำหวานดอกไม้และเกสรดอกไม้) ของผึ้ง การบานและช่วงเวลาการบานของดอกไม้ ตลอดจนทำเลและบริเวณที่เป็นแหล่งของพืชพันธุ์
1.1.4 ความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูของผึ้ง
   
      2 ทุนสำหรับดำเนินการ 
         การใช้ทุนเพื่อจัดทำรังผึ้ง ต้องใช้ด้วยความประหยัด มี คุณภาพ หรือซื้อจากแหล่งที่ผลิตรังผึ้งพันธุ์โดยตรงเป็นการดีที่สุด เพราะมาตรฐานขนาดของรังและคอนผึ้งมีความสำคัญมาก ถ้าอุปกรณ์ทุกชิ้นได้มาตรฐานเดี่ยวกันหมด เวลาจัดการภายในรังผึ้งในภายหลังก็จะทำได้สะดวกและไม่เป็นปัญหา จะต้องมีทุนสำรองเพื่อใช้จ่ายดังนี้
2.1. ค่าพันธุ์ผึ้ง
2.2. ค่าทำรังผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง
2.3. ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ
2.4. ค่าน้ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพื่อจะเลี้ยงผึ้งในบางช่วงของฤดูกาลที่ขาดแคลนอาหารผึ้งตามธรรมชาติ
2.5. ค่าใช้จ่ายสำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเลี้ยงผึ้ง เช่น ค่ายาป้องกันกำจัดไรศัตรูพืช และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ

      3 แหล่งที่จะซื้อผึ้งมาเริ่มดำเนินการ
3.1. ไปเยี่ยมรังผึ้งของฟาร์มต่าง ๆ ผึ้งที่มีการเลี้ยงและเอาใจใส่ที่ดี ผึ้งของ ฟาร์มนี้จะแข็งแรงและมีคุณภาพดี พร้อมกันนี้สอบถามราคาแล้วเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น ๆ
3.2. สังเกตผึ้งในฟาร์ม อันดับแรกดูปากรังว่าสะอาดไหม ถ้าผึ้งรังไหนสุข ภาพดีปากรังเข้าออกจะสะอาด ขนาดผึ้งมีตัวโตสม่ำเสมอ ผึ้งมีความคึกคักไม่หงอยเหงา 
การเลือกซื้อพันธุ์ผึ้งต้องตรวจสอบความแข็งแรงของรังผึ้ง
3.3. ขอดูคอนผึ้งตรวจดูความสม่ำเสมอของการวางไข่ ดักแด้ เต็มคอนหรือ ไม่ ถ้าแม่รังผึ้งดี การวางไข่จะเป็นวงกว้างเต็มคอน จะตัวโต อกกว้าง และวางไขทั่วคอน
3.4. เลือกซื้อรังผึ้งที่นางพญาสาว
3.5. เลือกซื้อรังผึ้งที่ไม่เป็นโรค
3.6. เลือกซื้อรังผึ้งที่ไม่มีตัวไรวารัวและไรทรอปิลิเลปส์ ค่าพันธุ์ผึ้ง
3.7. ค่าทำรังผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง
3.8. ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ
3.9. ค่าน้ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพื่อจะเลี้ยงผึ้งในบางช่วงของฤดูกาลที่ ขาดแคลนอาหารผึ้งตามธรรมชาติ
3.10. ค่าใช้จ่ายสำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเลี้ยงผึ้ง เช่น ค่ายาป้องกันกำจัดไร ศัตรูพืช และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ 

      4 อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงผึ้ง
         วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งอื่น ๆ ที่ จำเป็น นอกจากตัวผึ้งและนางพญาผึ้งแล้ว ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้การเลี้ยงผึ้งประสบความสำเร็จได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้
4.1.รังเลี้ยงผึ้ง (Bee Hive) หรือหีบเลียงผึ้ง หรือกล่องเลี้ยงผึ้ง เป็นกล่องรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงหัวท้ายด้านบนของกล่อง จะเซาะเป็นร่องสำหรับวางคอนผึ้ง ขนาดตัวรังที่นิยมกันในหมู่นักเลี้ยงผึ้งมี 2 แบบ คือ แบบยุโรป หรือเป็นแบบแลงสตร็อธ และแบบไต้หวัน ลักษณะของหีบเลี้ยงผึ้งทั้งสองแบบคล้ายกัน เพียงแต่ขนาดความยาวต่างกัน โดยแบบไต้หวันจะมีขนาดใหญ่กว่า ใส่เฟรมได้ตั้งแต่ 10-15 คอน แต่นิยมใช้ขนาด 10 คอน และมีหน้าต่างมุ้งลวดด้วย แบบ ยุโรปใส่ได้ 10 คอน สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
กล่องเลี้ยงผึ้งแบบยุโรป

กล่องเลี้ยงผึ้งพันธุ์แบบไต้หวัน

4.2. คอนหรือเฟรม (Frame) คอนหรือเฟรมเป็นที่สำหรับผึ้งจะสร้างรวงผึ้ง ประกอบ ด้วยไม้ 4 ชิ้น ไม้ชิ้นบนเป็นคอนบน
4.3. แผ่นฐานรวงหรือแผ่นรังเทียม เป็นแผ่นไขผึ้งแท้ปั้มเป็นรอยฐานหกเหลี่ยม สำหรับเป็นฐานให้ผึ้งงานได้สร้างหลอดและรวงรังผึ้งให้รวดเร็ว ประหยัดพลังงานของผึ้ง ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้สะดวกเป็นแบบมาตรฐาน
แผ่นรังเทียม
4.4. ขาตั้งรังผึ้ง สำหรับตั้งรังผึ้ง เพราะบ้านเรามีความชื้นสูง และมีมดมาก การจะตั้ง รังบนพื้นดินนี้ ไม่สะดวกเหมือนต่างประเทศ อาจทำด้วยไม้ หรือเป็นขาตั้งเหล็กก็ได้
4.5. ไม้กั้นหน้ารัง เป็นไม้ที่มีช่องสำหรับให้ผึ้งเข้า-ออก ไม้นี้จะวางอยู่ระหว่างฐานรัง สำหรับปิดทางเข้ารังของผึ้ง ในช่วงที่ผึ้งมีประชากรน้อย โดยบังคับทางเข้า-ออกให้เล็กลงเท่าที่ จำเป็นสำหรับผึ้งเท่านั้น
4.6. เครื่องมือพ่นควัน (Smoker) เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงผึ้งทุกคนจะต้องมี และนำไปใช้ทุกครั้ง เวลาทำงานอยู่กับรังผึ้ง ทำด้วยกระป๋องสังกะสี อลูมิเนียม หรือสแตนเลส มีฝาครอบรูปกรวยสำหรับพ่นควันออก ด้านหลังเจาะรูให้ลมเข้าและมีที่ปั้มลม ประกอบด้วยไม้ 2 แผ่นบาง ๆ ที่ปั้มลมทำด้วยผ้าหนังมีช่องลมตรงกับรูของกระป๋อง เวลาบีบลมจากกระเปาะจะพุ่งตรงเข้าไปในกระป๋อง ทำให้เชื้อไฟในกระป๋องติดไฟ เกิดควันพุ่งออกจากกรวย
เครื่องมือพ่นควัน
4.7.เหล็กงัดรัง (Hive Tool) เป็นแผ่นเหล็กแบนยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ปลายด้าน หนึ่งแบนกว้างประมาณ 1 ? นิ้ว ใช้สำหรับแซะฝารังเวลาเปิดรังผึ้งและใช้ขูดยางเหนียว ๆ ที่ติดตามขอบรัง และคอน เหล็กงัดรังนี้จะต้องถือติดอยู่ในฝ่ามือตลอดเวลาที่ทำงานตรวจรังผึ้ง เช่นเดียวกับเครื่องพ่นควันและหมวกกันผึ้งต่อย
4.8. หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยหน้า หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยบริเวณใบ หน้านั้น 
4.9. ถุงมือ เป็นถุงมือที่มีขนาดความเหนียวและหนาพอที่จะกันผึ้งต่อยบริเวณมือและ นิ้ว ทำด้วยหนังหรือผ้าที่มีความหนาพอสมควร
4.10. ชุดเสื้อผ้าที่สวมใส่เวลาทำงาน เป็นชุดหมีสีขาวแขนยาวรัดข้อมือและข้อเท้า ทำด้วยผ้าหนา ๆ กันผึ้งต่อย ถ้าไม่มีชุดดังกล่าวอาจดัดแปลงใช้เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวธรรมดา
4.11. อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวงรัง ประกอบด้วย แปรงปัดผึ้ง ถังเหวี่ยง (สลัด) น้ำผึ้ง มีด ตะแกรงกรองน้ำผึ้ง ถังเก็บน้ำผึ้ง
4.12. อุปกรณ์อื่น ๆ อุปกรณ์ที่ควรจะมีอยู่ตลอดเวลาในการเข้าไปปฏิบัติงานในการ เลี้ยงผึ้ง คือ กล่องเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถจะใช้ได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ ในกล่องควรมีฆ้อน คีม ตะปู เลื่อย ลวด มีดถากไม้ มีดพับคม ๆ มีดบาง (หรือมีดตัดโฟม) กรรไกรเล็ก ๆ กรรไกรตัดลวด กล่องขังนางพญา ยาหม่อง ฯลฯ

      5 ความรักในตัวผึ้ง
         การเลี้ยงผึ้งเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้ที่คิดจะ เลี้ยงผึ้งควรจะมีความรักในชีวิต รักผึ้ง และรักธรรมชาติ เพราะการเลี้ยงผึ้งต้องการความละเอียดอ่อนและความละเมียดละไม ผึ้งเป็นแมลงตัวเล็กๆ ที่มีการเป็นอยู่ การจัดระบบสังคมภายในรวงรังที่น่าสนใจมาก การเลี้ยงผึ้งนั้นจะทำให้ผู้ที่ได้เลี้ยง ได้สัมผัสกับผึ้ง ได้ประโยชน์ในการที่จะได้รับความสุข ความรื่นรมย์ในชีวิตเป็นการพักผ่อนและได้ทำงานอดิเรก และได้น้ำผึ้งเพื่อบริโภคในครอบครัว และอาจเหลือเป็นบางส่วนสำหรับจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัว และทำให้สุขภาพจิตของผู้เลี้ยงผึ้งดีขึ้นอีกด้วย





การเลี้ยงผึ้ง




แหล่งที่มา :


ข้อมูลเพิ่มเติม :