วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผึ้งบำบัด


ผึ้งบำบัด

ประวัติของผึ้งบำบัด
           ต้นกำเนิดของการใช้ผึ้งบำบัด หรืออะพิเธอราพี นั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าถือกำเนิดวิธีการเหล่านี้มาจากที่ใดเป็นชาติแรก แต่มีร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในชนชาติกรีก ยีอิปต์ และจีน ที่มีการใช้น้ำผึ้งในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาเกือบว่าพันปีซึ่งปรากฏอยู่ในคำภีร์ Veda และ Bible ว่ามีการใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้งมาว่า 4,000 ปี ซึ่งน้ำผึ้งและพรอพอริส สารสกัดที่ได้จากยางไม้ ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอียิปต์ หรือในสมัยฮิปโปเคติส ในแพทย์ชาวกรีก ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์ยังพบว่ามีการใช้พิษผึ้งเพื่อรักษาอาการเจ็บไขข้อและโรคปวดข้อ ในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีการกล่าวถึงการใช้ผึ้งต่อยเพื่อรักษาโรค มานานกว่า 3,000 ปี
          ปัจจุบันมีหลายประเทศได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องให้ใช้รักษาคนไข้ได้วิธีการนี้ใช้หลักการเดียวกับการฝังเข็ม แต่ต่างตรงที่พิษผึ้งที่ถือกันว่าเป็นยาธรรมชาติขนานเอก สำหรับคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีนี้นับได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนไข้อีกทาง

นิยามของผึ้งบำบัด

          
          ผึ้งบำบัด เป็นวิธีทางเลือกแห่งการบำบัดสุขภาพ หมายถึง การบำบัด บรรเทา หรือการรักษาอาการโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้ง อันได้แก่ น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง ไขผึ้ง พรอพอริส และพิษผึ้ง มีประวัติมายาวนาน และเป็นที่แพร่หลายในต่างประเทศ ผึ้งบำบัดในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Apitherapy และในภาษาจีน เรียกว่า ฟงเหลียว
          โดยหลักกการแล้ววิถีแห่งผึ้งบำบัดใช้ปรัชญาพื้นฐานของคำว่า อาหารเป็นยาต้านโรคภัย อีกทั้งการใช้พิษผึ้งมีที่มาของหลักที่ว่า พิษต้านพิษ หรือที่เรียกว่า Homeopathy
          ผึ้งบำบัด ประกอบไปด้วย 2 ประการ ประการที่หนึ่ง คือ การใช้พิษผึ้ง โดยการฝังตามจุดประสาทลมปราณด้วยเหล็กไนผึ้ง โดยจะต้องควบคู่ไปกับประการที่สอง คือ การบริโภคผลิตภัณฑ์ผึ้งอื่นๆ ซึ่งเพื่อส่งผลต่อการบำบัดอาการหรือโรคได้เต็มประสิทธิภาพ โยเฉพาะในการรักษาโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจจะต้องได้รับการฝังเข็มด้วยเหล็กไนผึ้งเป็นเวลาหลายครั้ง



          การฝังเข็มด้วยเหล็กไนผึ้งเป็นศาสตร์ที่มีมานานกว่า 1,200 ปี และแพร่หลายในสากล เป็นการรวมระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ผึ้งในการต่อยเพื่อบำบัดโรค และการฝังเข็มที่เป็นศาสตร์การรักษาในแพทย์แผนจีน  จนพัฒนากลายมาเป็น การรักษาโดยการฝังเข็มด้วยเหล็กไนผึ้ง


การรักษาผึ้งบำบัด

ในการรักษาด้วยผึ้งบำบัด จะมี 3 ประเภท
1.การใช้เหล็กไนของผึ้งมาต่อยรักษาโดยตรง แบ่งเป็น 2ลักษณะ
    1.1 ต่อยตรงจุดกดเจ็บ (Trigger points) 
          จุดกดเจ็บ หมายถึง จุดที่เรากดลงไปแล้วรู้สึกปวด เจ็บแปลบ ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ   เล็ก ๆ ยังคงไม่สลายไป มีอาการเจ็บปวดมากที่สุด การหาจุดกดเจ็บทำได้โดยการใช้นิ้วมือคลำดูบริเวณที่มีอาการแล้วค่อยกดลงที่ละจุด ถามผู้ป่วยว่าเจ็บมากไหม ถ้าผู้ป่วยแสดงอาการเจ็บมาก หรือบอกว่าเจ็บ แสดงว่าเป็นจุดที่มีปัญหา ซึ่งนิยมต่อยผึ้งทั้งตัวบริเวณจุดนี้ เช่นกลุ่มอาการปวดต่างๆ ปวดหัวไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว ปวดขา ไมเกรน รูมาตอยด์ เกาต์ ฯลฯ
    1.2 ต่อยตามจุดบนเส้นลมปราณ
          การต่อยผึ้งตามจุดบนเส้นลมปราณ ใช้หลักการต่อยเหล็กในผึ้งลงบนจุดที่ใช้ในการฝังเข็มคล้าย ๆ กับการฝังเข็มแต่เปลี่ยนจากเข็มเหล็กมาเป็นเข็มเหล็กไนผึ้ง โดยจะให้สรรพคุณเหมือนกับการฝังเข็มแต่ในเหล็กในผึ้งยังมีพิษผึ้ง ซึ่งจะช่วยในการบำบัดได้ต่อเนื่องกว่าการฝังเข็ม เช่น ไมเกรน  รูมาตอยด์
2. การใช้พิษแห้ง 
    ในการรักษาโดยการใช้พิษแห้งจะใช้หลังจากการต่อยผึ้งหรือกรณีที่ผู้ป่วยไม่ประสงค์ต่อยผึ้ง วิธีการใช้พิษแห้งเราจะใช้ร่วมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการผลักพิษแห้งเข้าไปช่วยบรรเทาหรือรักษาบริเวณที่มีอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดส้นเท้า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ เป็นต้น
3.การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งหรือยางผึ้ง
   การใช้พลาสเตอร์พิษผึ้งจะใช้ในการรักษาหลังจากต่อยผึ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการรักษามากขึ้น มักจะใช้รักษากับโรคต่างๆ เช่น การต่อยเลิกบุหรี่ ปวดข้อศอก ปวดส้นเท้า ต่อมน้ำลายอักเสบ เป็นต้น 








แหล่งที่มา :






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น